วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาครอบครัว

"ครอบครัว" คือ "กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันกันทางอารมณ์และจิตใจในการดำเนินชีวิตร่วมกัน รวมทั้ง การพึ่งพิงทางสังคม เศรษฐกิจ และมีความสืบกันทางกฎหมายหรือสายโลหิต ครบครัวบางครอบครัวอาจมีลักษณะเป็นข้อยกเว้นบางประการจากลักษณะดังกล่าวก็ย่อมได้ และข้อยกเว้นนี้ อาจหมายรวมถึงครอบครัวที่มีสมาชิกข้ามช่วงอายุ อาศัยอยู่ด้วยกันเช่น ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย


ผลของปัญหาครอบครัว

๑. ทำให้สมาชิกในครอบครัวเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน

๒. บุคลิกภาพและสุขภาพกาย สุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว

๓. ทำให้เกิดการค้าประเวณี

๔. ทำให้เกิดปัญหาวัยรุ่น

๕. ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ

๖. ครอบครัวมีปัญหา

การแก้ไขปัญหาครอบครัวภาคประชาชนให้ครอบครัวมีความสุข ต้องมีความรักและความอบอุ่นในครอบครัวจะมีผลต่อสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้


1. ต้องเอาใจใส่ดูแลเอื้ออาทรต่อกัน

2. ต้องรู้จักคนที่เรารัก

3. ต้องเคารพกันและกันตลอดทั้งเข้าใจกัน

4. ต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่

5. ต้องมีความวางใจกัน คือ มีความเชื่อถือและไว้ใจ

6. ต้องให้กำลังใจกันและกันซึ่งกำลังใจก็คือพลัง

7. ต้องให้อภัยกันและกัน

8. ต้องรู้จักสื่อสารในครอบครัว

9. ต้องใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพ

10. ต้องมีการปรับตัวตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงของบุคคลในครอบครัว การปรับตัวกับภาวะความเปลี่ยนแปลง

11. ต้องรู้จักภาวะหน้าที่ในครอบครัวและช่วยเหลือกันและกัน

12. มีความใกล้ชิดทางสัมผัส โดยการทำจากใจจริง

13. ใช้วาจาสุภาพอ่อนยน เอาอกเอาใจ ยกย่องให้เกียรติ

14. มีความรู้เรื่องเพศ                                                                                                                                                            

15. มีการติดต่อสื่อสารที่ดี เมื่อมีคนพูด ควรมีคนรับฟัง พยายามทำความเข้าใจกัน บอกความต้องการด้วยความสงบ ไม่ต่อว่า ส่อเสียดคุกคามกัน ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการตำหนิ ว่ากล่าว หรือจี้จุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง                           
16. มีการเคารพสิทธิส่วนตัวของกันและกัน ในพื้นฐานของกติกาที่ดี ไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนตัวซึ่งกันและกัน แต่ละคนอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันได้                                                                           
  17. พ่อแม่ควรมีความร่วมมือกันในการดูแลครอบครัว การแก้ไขปัญหาต่างๆ และปัญหาพฤติกรรมเด็ก                   
  18. การมีเวลาที่มีคุณภาพร่วมกัน แม้เวลาเพียงเล็กน้อย แต่คุณภาพที่ดีจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาครอบครัวที่มีคุณภาพ


การแก้ไขปัญหาครอบครัวภาคเอกชน

1.ปรึกษาจิตแพทย์ด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษากับครอบครัวเพื่อให้บรรลุผลของการให้คำปรึกษาครอบครัว เชิญครอบครัวที่มีปัญหามาพูดคุย ให้ทุกคนได้พูดความรู้สึกของตนเอง ไปจนถึงการรักษาแบบครอบครัวบำบัด  ซึ่งมีหลักการรักษา คือ สมาชิกครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้าใจปัญหา  หาทางคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วยกันปรับเปลี่ยนตนเอง โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไขก่อน
2. การขอคำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานที่ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว
เพื่อจะได้ใช้เป็นตัวกลางในการปรับตัวเข้าหากัน
                      
                3. การปรึกษาหาทางปรับตัวเข้าหากันโดยมีองค์กรกลางเช่นหน่วยงานทางสถาบันสังคม
โดยทั้ง 2 ฝ่ายยินดีจะฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง
                4.การหันไปพิจารณาพึ่งคำสอนขององค์กรศาสนา
                5.จัดกิจกรรมให้สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมและใช้เวลาว่างร่วมกัน และลดความรุ่นแรงในครอบครัว
                6.สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านเพื่อให้คำแนะนำการวางแผนครอบครัวและแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาครอบครัวดังนี้
- การให้ความรู้วิธีการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ
-การให้ความรู้วิธีการสื่อสารภายในครอบครัว
-การให้ความรู้เรื่องบทบาทของพ่อ/แม/่ ลูก
-การจัดกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วม
-การให้ความรู้แก่คู่สมรสใหม่ด้านหลักการใช้ชีวิตคู่
-จัดการรณรงค์เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีภาย ในครอบครัวแก่ประชาชนในหมู่บ้าน/ตำบล ฯลฯ
การแก้ไขปัญหาครอบครัวภาครัฐบาล
1.แก้กฎหมายครอบครัวให้มีการลงโทษทางอาญา และเสียค่าเสียหายทางแพ่งมากขึ้น
2.รัฐต้องเริ่มต้นการกระทำอย่างจริงจังโดยชี้ให้สังคมรู้ว่า จะเกิดผลเสียหายอย่างไรขึ้นต่อสังคมโดยรวม
3. จะต้องส่งเสริมมาตรการป้องกัน เช่นการให้ความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวกับประชาชนอย่างทั่วถึง  โดยวิธีต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อทางโทรทัศน์  วิทยุ หรือผ่านหลักสูตรการสอนในสถานบันศึกษา 

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไท
1.รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน                
 2. วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์
 3. ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
 4. ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้ดีขึ้น
6. พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
7. ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้ทั่วถึงและสูงขึ้น การศึกษาเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้สูงขึ้น รัฐจึงควรทุ่มเทงบประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชน
8.  รัฐต้องจัดสวัสดิการที่ดีให้แก่ประชาชน ต้องจัดให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีและมีงานทำทุกคนเพื่อ เป็นหลักประกันของชีวิต ควรจัดให้มีการประกันสังคมโดยทั่วถึง
9. พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับประเทศ โดยพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่วนรวม กระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้น พยายามลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยให้อยู่ในระดับเดียวกัน
10. มีการพัฒนาสังคมให้เหมาะสม โดยเฉพาะระดับครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญต้องพัฒนาก่อนสถาบันอื่น ๆ ควรสร้างค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก เช่น ให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน ใฝ่ศึกษา ไม่เห็นแก่เงิน ชอบศึกษาค้นคว้า ฯลฯ รัฐต้อง พัฒนาบุคคลให้มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตในครรลองแห่งจริยธรรม คุณธรรม หรือตามหลัก
ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นก็มีความรุนแรงในหลายๆระดับซึ่งมีผู้กระทำผิดที่แต่งต่างกันออกไป และยังเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆได้ดังที่กล่าวมาแล้ว โดยมากเรามักจะมาเน้นในเรื่องของปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการล่วงละเมิดต่างๆ ปัญหาครอบครัว ปัญหาความเครียด ฯลฯ และหาทางแก้ไขจากปลายเหตุ ส่วนปัญหาสังคมอื่นๆก็ได้แก่ ปัญหาสิทธิส่วนบุคคล ปัญหาการจำกัดสิทธิ ปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความเครียดและการกดดัน ปัญหาทางด้านการศึกษาเหล่านี้เป็นต้นซึ่งไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากับพวกปัญหาอาชญากรรม

                อย่างที่เราทราบกันดีว่า การที่ปัญหาสังคมจะเกิดขึ้นนั้นมันก็เริ่มมาจากคนที่ได้รับความกดดันความกระทบกระเทือนทางจิตใจ แต่อะไรเป็นสาเหตุของความกระทบกระเทือนและความกดดันเหล่านั้นล่ะ นี่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่เราจะเริ่มต้นแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของครอบครัว
เนื่องจากประเทศของเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ฉะนั้น ทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ทรัพยากรบุคคลหรือประชาชน นั่นเอง การที่สังคมของไทยเราจะดีขึ้นได้ จะต้องพิจารณาจาก สภาพของประชาชนว่ามีปัญหาด้านใด มีพฤติกรรมอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้พัฒนาประชาชน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาประเทศชาติ ต่อไป
สถาบันพื้นฐานของการสร้างคนในชาติคือ ครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นผู้สร้างบุคลิกภาพของทุกคนการเจริญเติบโต ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์หรือสังคม ย่อมขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของบิดามารดา ซึ่ง เรามักกล่าวเสมอว่า บิดามารดาคือครูคนแรกของลูก แม้ว่าลูกจะ เติบโตจนเข้าโรงเรียนได้แล้วบิดามารดาก็ยังต้องทำหน้าที่เสมือน ครูอยู่เช่นเดิม นั่นคือ คอยเอาใจใส่ อบรมสั่งสอนลูกด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิริยามารยาท ความประพฤติ บาปบุญคุณโทษ สิ่งที่ ควรทำหรือไม่ควรทำ เป็นต้น
ฉะนั้น ครอบครัวจึงเป็นหน่วยแรกที่สุดของสังคมเพราะ เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่วางรากฐานให้แก่สถาบันอื่น ๆ ใน สังคม โดยไม่มีสถาบันใดสามารถทำหน้าที่นี้แทนครอบครัวได้ ฉะนั้น ถ้าบิดามารดาได้ให้ความรัก ความอบอุ่น ถ่ายทอด ความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนอบรมบ่มนิสัย ช่วยกันสั่งสอนชักจูงให้ ลูกประพฤติดีแล้ว ก็นับได้ว่าครอบครัวได้ทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ ในการสร้างคนของชาติเพื่อพัฒนาสังคม และมีชีวิตที่ผาสุกใน ระบอบประชาธิปไตยในอนาคต

จากที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่าครอบครัวหมายถึงบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันในทางกฎหมาย โดยการสมรสมีบุตร หรือ บุตรบุญธรรม ครอบครัวในสังคมต่าง ๆ อาจจะแบ่งได้เป็น ประเภท คือ
1. ครอบครัวเฉพาะ เป็นครอบครัวขนาดเล็ก ประกอบด้วย พ่อ-แม่ และลูกเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวโน้มของครอบครัวในสมัย ปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับญาติพี่น้องน้อยลง ทั้งนี้เพราะภาวะ เศรษฐกิจทำให้ไม่สามารถรับภาระในการเลี้ยงดูบุคคลอื่นที่ไม่ ใช่บุตรหลานของตนได้
                2. ครอบครัวขยาย โดยมากเป็นครอบครัวสมัยโบราณที่มี ขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก หลาน ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติพี่น้องอยู่รวมกัน ปัจจุบันครอบครัวประเภทนี้แทบ ไม่มีแล้ว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจรัดตัวนั่นเองอย่างไรก็ตาม ครอบครัวขยาย ก็มีประโยชน์ในด้านการดูแลลูกหรือเด็ก ๆใน บ้านซึ่งจะขจัดสาเหตุความว้าเหว่ และการขาดความอบอุ่นใน บ้านได้ทั้งนี้เพราะปัจจุบันพ่อแม่มักจะออกไปทำงานนอกบ้าน ทั้งสองคนทำให้ลูก ๆ ขาดผู้เอาใจใส่ อาจจะมีการจ้างคนอื่นมา ดูแลลูกและทำงานบ้านซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กขาดความอบอุ่นได้

ฉะนั้น ถ้าครอบครัวมีปัญหาอะไรก็ตาม ปัญหาต่าง ๆ ก็จะ เกี่ยวโยงมายังเด็กอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหา หรือความยุ่งยากทางสังคมตามมา เราอาจพอสรุปปัญหาที่จะ เกิดขึ้นดังนี้
1. ปัญหาเด็กหนีโรงเรียน อาจจะเกิดจากเด็กที่มีฐานะครอบ ครัวยากจนไปโรงเรียนโดยขาดอุปกรณ์ในการเรียนขาดเสื้อผ้า ที่สะอาดเรียบร้อย อาจถูกเพื่อนล้อเลียน ทำให้อับอายหรือทำ การบ้านไม่ได้ นอกจากนี้อาจเกิดจากตัวของเด็กเอง เพราะเด็ก จะสนใจเพื่อน ต้องการความเป็นอิสระจากผู้ใหญ่ ฉะนั้นถ้าเด็ก ขาดความอบอุ่นจากทางบ้าน เด็กยิ่งจะ "ตามเพื่อน" มากยิ่งขึ้น
2. ปัญหาเด็กหนีออกจากบ้านปัญหานี้เกิดจากความไม่พอใจ ของเด็กด้านต่าง ๆ เช่น พ่อแม่ดุด่า เฆี่ยนตีจนทนไม่ไหว บิดา มารดาแยกกันอยู่หรือหย่าร้าง ความไม่สงบสุขในครอบครัว ต่าง ๆ เป็นต้นว่า บิดาดื่มสุรามึนเมาอาละวาด ทุบตีบุตร ภรรยา เป็นประจำ เหล่านี้เป็นต้น
                3. ปัญหาเด็กติดยาเสพติด เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการ ขาดความรัก ความอบอุ่นของครอบครัว เด็กจะถูกชักจูงให้เสพย์ ยาเสพติดง่ายยิ่งขึ้น จากผลการติดยาเสพติดของเด็ก จะนำไปสู่ การลักทรัพย์ หรือการทำร้ายร่างกายบุคคลอื่นได้
นอกจากปัญหาใหญ่ ๆ 3 ประการนี้แล้ว อาจมีกรณีเด็กทำผิด กฎหมายด้านอื่น ๆ เช่น ทำอนาจารข่มขืนกระทำชำเราการพกพา อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด การเล่นการพนันตลอดจนการใช้เวลา ส่วนมากในการมั่วสุมตามสถานเริงรมย์ต่าง ๆ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นมีความเกี่ยวพันกัน โดยตลอด ซึ่งอาจจะเริ่มจากปัญหาการหนีเรียนก่อนแล้วเด็กอาจ จะหนีออกจากบ้านหรือออกไปมั่วสุมกับเพื่อน ๆ เป็นเหตุให้เกิด ปัญหาด้านความประพฤติตามมา ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมย หรือ ติดยาเสพติด หรือเล่นการพนันก็ตาม ปัญหาทั้งหมดเริ่มจากบ้าน หรือครอบครัว หรือจะกล่าวสั้น ๆ ว่า เริ่มจากบิดามารดาหรือ ผู้ใหญ่ในบ้านนั่นเอง
ความเดือดร้อน หรือปัญหาทั้งหลาย ที่เกิดกับผู้ใหญ่ใน ครอบครัว บางปัญหาอาจจะยากต่อการแก้ไข จะมีผลกระทบ ต่อเด็กโดยตรง ซึ่งทำให้บุคลิกภาพของเด็กเสียหาย ก่อให้เกิด ความยุ่งยาก เป็นภาระแก่สังคม บางครั้งเด็กอาจหมดโอกาสที่จะ เติบโตขึ้นเป็นคนดี ไม่สามารถทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมหรือ ครอบครัวได้ 

หน้าที่ของครอบครัว
ถ้าพิจารณาหน้าที่ของครอบครัวตามบทบาทดั้งเดิมในสมัย โบราณแล้ว ครอบครัวมีหน้าที่เลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโต แต่เนื่อง จากครอบครัวเป็นหน่วยมูลฐานของสังคม เพราะสังคมจะออกมา เป็นรูปใด ส่วนใหญ่จะขึ้นกับการดำเนินชีวิตหรือการอบรมเลี้ยง ดูลูกของครอบครัว ฉะนั้น ทุกครอบครัวต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ต่อสภาพของสังคมในอนาคตด้วย นั่นคือ ถ้าทุกครอบครัวได้ ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีแล้ว ก็อาจจะคาดหวังได้ว่า สังคมในอนาคต ย่อมเป็นสังคมที่ผาสุกและมีความเป็นปึกแผ่น มั่นคง เราอาจพอสรุปหน้าที่ของครอบครัวได้ดังต่อไปนี้
1. หน้าที่ในการส่งเสริมความเจริญเติบโตส่วนบุคคลของลูก การเจริญเติบโตนี้หมายถึง การเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์สังคมและสติปัญญาซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัย 4 ด้วย บิดา มารดา ต้องเข้าใจลูกในทุก ๆ ด้าน เช่น ความสนใจ ความ สามารถพิเศษต่าง ๆและพร้อมที่จะส่งเสริมให้เขาเจริญก้าวหน้า เต็มที่เพื่อทำให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองและทำประโยชน์แก่ สังคมได้มากที่สุด
2. การให้ความรัก ความอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย เช่น ไม่ เปรียบเทียบลูกของตนว่าด้อยกว่าลูกของคนอื่น แสดงออกให้ ลูกรู้สึกว่าถึงเขาจะมีสภาพอย่างไรพ่อแม่ก็ยังคงรักและต้องการ เขาอยู่เสมอ ให้ลูกมีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ตลอดจน สร้างความรักความผูกพันระหว่างพ่อแม่ พี่น้องในครอบครัว สิ่งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญของสุขภาพจิตที่ดีของเด็ก
3. การให้เสรีภาพส่วนบุคคล ข้อนี้มีความสำคัญมากเช่นกัน ก่อนอื่นทั้งพ่อแม่และลูกต้องมีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับคำว่า เสรีภาพและขอบเขตของเสรีภาพเสียก่อน เด็กควรได้รับอนุญาต ให้ทำในสิ่งที่สนใจ เล่นหรือเที่ยวกับเพื่อนภายในขอบเขต คือ ไม่เกิดอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น ถ้าครอบครัวสามารถปฏิบัติ เช่นนี้ได้ เด็กก็จะเข้าใจเรื่องสิทธิ เสรีภาพ รู้จักควบคุมตัวเอง และ ไม่นำเสรีภาพไปใช้โดยก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น
4. การแนะนำสั่งสอน ให้รู้จักใช้เครื่องมือของวัฒนธรรม สำหรับชีวิตประจำวัน เนื่องจากมนุษย์ทุกคนไม่มีใครรู้จักหรือ ทำอะไรได้เองมาตั้งแต่เกิด ฉะนั้น มนุษย์เราต้องเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการยืน นั่น เดิน การพูดจา การรับประทานอาหาร หรือกิริยามารยาทต่าง ๆ ตลอดจนการแต่งกาย การอยู่ในสังคม การรู้จักใช้จ่ายเงินทอง เป็นต้น ครอบครัวทุกครอบครัวจึงต้อง เอาใจใส่ดูแลอบรมสั่งสอนสิ่งเหล่านี้ให้ปฏิบัติอย่างมีวัฒนธรรม เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ดี ไม่ขัดขวาง ทำลาย หรือสร้าง ความรำคาญต่อผู้อื่นยิ่งปัจจุบันโลกกำลังก้าวหน้าด้วยเครื่องมือ
สื่อสารใหม่ ๆยิ่งต้องรู้จักการใช้เครื่องมือเหล่านี้ และมารยาทใน การพูด เช่น มารยาทในการใช้โทรศัพท์ มารยาทการฟังวิทยุ หรือชมโทรทัศน์ เป็นต้น
5. การปลูกฝังนิสัยที่เอาใจใส่ในปฏิกิริยาของผู้อื่นพ่อแม่ต้อง ชี้แจงว่า มนุษย์เราอยู่ร่วมกันต้องรู้จักเอาใจใส่ผู้อื่นด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ช่วยเหลือหรือทำให้ ผู้อื่น ได้รับความสะดวกใจเมื่อติดต่อกับเรา
                6. หน้าที่ในการสร้างสันติสุขภายในบ้าน สันติสุขเป็นภาระ ที่ทุกคนยินดีจะได้พบ แต่สันติสุขจะเริ่มมีขึ้นไม่ได้ถ้าไม่เริ่มจาก บ้านการที่บ้านมีสันติสุขมิได้แปลว่าบ้านไม่มีความขัดแย้งเพราะ ความขัดแย้งกันในบ้าน ย่อมมีเป็นธรรมดา แต่พ่อแม่จะต้อง พยายามแก้ไข หรือนำความขัดแย้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้ เกิดการประนีประนอม หาทางออกที่ดีให้แก่คนส่วนใหญ่ชี้แจง และทำให้เกิดความเข้าใจอันดีขึ้นในบ้าน ถ้าทุกคนมีความเข้าใจ ซึ่งกันและกันดีแล้วสันติสุขย่อมเกิดขึ้นอย่างไม่มีปัญหา
7. การสร้างความเป็นปึกแผ่น มั่นคง ให้แก่ครอบครัว ในกรณีดังกล่าวมีความหมาย รวมกันทั้ง 2 ประการคือ ความสัมพันธ์ใกล้ ชิด รักใคร่ ปรองดองกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพ่อแม่และ มีภาวะการเงินที่มั่นคงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว ให้มีความสุขตาม อัตภาพลูกที่เกิดในครอบครัวที่พ่อแม่รักใคร่กลมเกลียวกัน และ พ่อแม่มีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางจิต ลูกย่อมมีความสุขและ เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพต่อไป
เนื่องจากปัจจุบันสภาพของสังคมได้เปลี่ยนไป ค่าของเงินไม่ สูงเหมือนในสมัยก่อนมาตรฐานการครองชีพก็สูงขึ้นบางครั้งทั้ง พ่อ-แม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อให้คงความเป็นปึกแผ่น ทางด้านฐานะทางการเงิน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหากับลูกได้ ฉะนั้น ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวหรือพ่อ-แม่ ต้องมีการวางแผน ชีวิตเพื่อมิให้ครอบครัวต้องประสบกับความเดือดร้อน ต่อไป
8. หน้าที่ในการสร้างจุดหมายชีวิตและแรงจูงใจ ในที่นี้หมาย ความว่า พ่อแม่ควรทำให้ลูกมีจุดหมายปลายทางของชีวิตที่จะทำ ให้ชีวิตมีคุณค่ายิ่งขึ้น ถ้าคนเรามีจุดหมายในชีวิต จะทำให้เขา ขวนขวาย ทำให้ตนเองไปถึงจุดหมาย โดยไม่ย่อท้อ นอกจากนี้ บิดา-มารดา ยังเป็นบุคคลที่จะสามารถสร้างแรงจูงใจในทางที่ดี แก่บุตรของตนได้ เช่น การปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่ ส่วน รวม การมุ่งมั่นในการทำงานอาชีพของตน การทำตนให้เป็น แบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น เป็นต้น
คำสั่งสอนของบิดา มารดาก็ดี การเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก ๆ ก็ดีต่างก็เป็นเสมือน การสร้างแรงจูงใจในทางที่ดีให้กับลูก ๆ ถ้าหากครอบครัวไม่มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป ก็นับว่าได้สร้าง พื้นฐานที่ถูกต้องให้แก่ลูกของตน
ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกครอบครัวที่จะต้องเอาใจใส่ต่อลูก ของตน ทั้งในด้านความเจริญเติบโตทางกายอารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม ความขยัน หมั่นเพียรในการทำงาน และสร้างบรรยากาศของบ้านให้ความ อบอุ่น มีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อที่จะหล่อหลอมให้ลูก ๆ ได้เจริญเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสืบไป



สาเหตุของปัญหาครอบครัว
                  ความไม่พร้อมและไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นครอบครัว  การขาดความพร้อมของพ่อแม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสุขภาพ อายุที่เหมาะสม ไม่เป็นโรคติดต่อหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง  ด้านจิตใจอารมณ์ที่     จะต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะรับภาระเป็นพ่อแม่  ด้านสังคม เช่น มีความรู้ ความสามารถเพียงพอที่จะประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นต้น สาเหตุแห่งปัญหาครอบครัวที่สำคัญ ดังนี้                                                                                                                                                         สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์ และไม่อาจปรับตนเองได้  ครอบครัวที่อ่อนแอก็ยังได้รับผลกระทบรุนแรง โดยขาดสวัสดิการครอบครัวที่เหมาะสมรองรับ
   สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัวว่า ครอบครัวมีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงขาดจิตสำนึกและพลังร่วมกันจากทุกสถานบันในสังคมที่จะพัฒนาครอบครัว ป้องกันและแก้ไขปัญหาครอบครัว
  สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพล  อย่างยิ่งต่อครอบครัวและสมาชิกของสังคมโดย   สื่อมวลชนยังไม่ได้ให้ความสนใจในการพัฒนาครอบครัวเพียงพอ  บางส่วนของสื่อมวลชนได้ตอกย้ำให้เกิดผลทางลบแก่ผู้รับสารอย่างกว้างขวางต่อเนื่อง เช่น การปลูกฝังค่านิยมฟุ้งเฟ้อ มอมเมา การใช้ความ   รุนแรง  พฤติกรรมที่สำส่อนทางเพศและการผลิตสื่อลามกต่าง ๆ เป็นต้น

ผลกระทบของปัญหาครอบครัวครอบครัว
                สัมพันธภาพอันดีของมนุษย์เกิดจากสถาบันพื้นฐานของสังคม คือครอบครัว ปัจจุบันทุกๆ จุดของสังคมมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงเป็นแนวทางแก้ปัญหา ตั้งแต่ระดับนักการเมืองจนถึงชาวบ้าน เรียกได้ว่า แทบไม่มีความปราณีต่อแก่กัน ประหนึ่งชีวิตของผู้อื่นไม่มีค่า
ปฏิกิริยาแรงนี้จะเกิดขึ้นได้ชั่วขณะ เมื่อผ่านพ้นไปแล้วทุกคนต่างไม่ประสงค์ที่จะใช้ความรุนแรง อีกด้วยรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกขายหน้า ถ้าได้รับฟังคำพูดที่กระตุ้นเตือนคุณธรรมที่มีอยู่ในใจ ก็จะเกิดความเมตตากรุณาขึ้นมาในใจ แต่ความรุนแรงกลุ่มหนึ่งซึ่งน่ากลัว เป็นอภัยต่อสังคม เป็นอันตรายต่อชีวิต คือความรุนแรงต่อครอบครัว ซึ่งที่เกิดบ่อยๆ คือ การลงโทษลูกด้วยความรุนแรง ใช้วิธีข่มขู่ด้วยอารมณ์ การกล่าววาจาที่รุนแรง เหน็บแนม ให้ได้อายและความขัดแย้งกันระหว่างพ่อ แม่ หรือระหว่างสมาชิกอื่นที่เป็นผู้ใหญ่ในครอบครัว ทำให้เด็กแลเห็นตัวอย่างของการตัดสินปัญหาด้วยความรุนแรงเข้าไว้เป็นประสบการณ์ และนำมาใช้ในวิถีชีวิตของตน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจ แบ่งเป็นผลกระทบระยะสั้น และผลกระทบระยะยาว
                
ผลกระทบระยะสั้น
 ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ จะหงุดหงิด ไม่มีความสุข เลี้ยงยาก หวาดผวาเมื่อผู้ที่ลงโทษมาใกล้ บางรายหงอย ซึม ไม่สนใจเล่น ไม่แจ่มใส ถ้าโตขึ้นจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ไม่มีความสุข โกรธนาน โกรธเพื่อน ระงับความโกรธไม่ได้ ใช้ความรุนแรงกับเพื่อน น้องหรือเลี้ยงสัตว์ หากกับเด็กโต นอกจากจะหงุดหงิดง่าย ไม่สุขสบายส่งผลให้ระบบการเรียนต่ำลง สมาธิและความสนใจลดลง เบื่อหน่าย ไม่ยากเรียน มีแนวโน้มจะขัดคำสั่งครู ไม่ยอมทำตามกฎระเบียบของโรงเรียนและสังคม

ผลกระทบระยะยาว
เด็กที่ถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีรุนแรง หรืออยู่ในบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงจะรู้สึกว่าสังคมแรกคือ สังคมในบ้านเป็นสิ่งไม่ดี และจะมีแนวโน้มแง่ร้าย นิยมความก้าวร้าวรุนแรง ดังนั้นเด็กที่ได้รับความรุนแรงอย่างมากๆ จะมีแนวโน้มที่จะต่อต้านสังคม
ความรุนแรงในครอบครัวมีผลเสียต่อจิตใจ และพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพของเด็กซึ่งถ้าเราไม่ช่วยกันลดการใช้ความรุนแรงในครอบครัวให้หมดไป หรือลดน้อยลง ในที่สุดเราก็ได้ประชากรที่นิยมความรุนแรง การเดินถนนของเราคงจะไม่มีความปลอดภัยแล้ว และถ้าใช้ความรุนแรงกับลูกของเรา ลูกของเราก็ใช้ความรุนแรงกับหลานแหลนของเราต่อไปดังนั้นเรามาอยู่ด้วยกันด้วยความรัก ความเมตตา ลูกๆ ก็จะมีความสุข และในที่สุด สังคมประเทศชาติก็จะมีความสุขด้วย


ตัวอย่าง : ข่าวปัญหาครอบครัว
ข่าวที่ 1

อุทาหรณ์จากข่าวครอบครัวพุ่มพวง
ที่มาจาก : ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2552 04:16 น.



                     เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากมายเลยทีเดียวสำหรับกรณีญาติที่พี่น้องของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ไม่ว่าจะเป็นจันทร์จวง ดวงจันทร์ , อำนาจ จิตร์หาญ , ดวงใจ ดวงจันทร์ ทะเลาะโต้เถียงกับ อ้อย ธิดารัตน์ อรรถรัตน์ แฟนสาว และ สุพรรณี สุประการ" แม่บุญธรรม ของ พระเพชร พระสรภพ ลีละเมฆินทร์ ลูกชายคนเดียวของพุ่มพวงที่วัดทับกระดาน จนเป็นเหตุให้ งสติแตกหลุดอาการสำรวม ระเบิดความในใจว่า ไกรสร แสงอนันต์ และพี่น้องของพุ่มพวงคือคนที่ฆ่าแม่ พร้อมทั้งตัดพ้อว่า 17 ปีก่อนขณะที่แม่ป่วยไม่มีใครดูแล พ่อก็ไม่ดูแล ญาติฝั่งแม่บอกว่าเป็นคนดูแล แต่ทำไมก่อนตายต้องนอนโรงพยาบาลห้องอนาถา ทั้งที่มีที่ดินทรัพย์สมบัติก็มีทำไมไม่ขายมารักษาแม่




ด้วยปัญหา ครอบครัว เรื่องส่วนตัว กลายมาเป็นเรื่อง สาธารณะ เพราะเป็นเรื่องของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งจากไปเมื่อ 17 ปี
หลายคนวิพากษ์วิจารณ์กัน ต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดเป็นคำถามขึ้นคือตัวละคร 4 ฝ่าย
1.  พุ่มพวง + ไกรสร + น้องเพชร
2.  ครอบครัว พี่น้อง และ พ่อแม่ ของคุณพ่มพวง ดวงจันทร์
3. ครอบครัว คุณน้ำอ้อย (ธิดารัตน์ อรรถรัตน์ และ คุณสุพรรณี สุประการ แม่บุญธรรม)
4. ผู้บริโภคข่าว
เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น น่าจะนำมาวิเคราะห์กันเป็นอุทาหรณ์ของสังคม เป็นกรณีศึกษาสังคมที่ดี จะต้องเริ่มต้นด้วยสังคมเล็กๆ ก่อนคือ ครอบครัวเมื่อคนสองคน เกิดความรัก และคิดจะสร้างครอบครัว ความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมย่อมเกิดขึ้นทันทีการเริ่มมีลูก 1 คน ต้องตระหนักว่า ได้สร้างพลเมืองขึ้น 1 คน ให้มีคุณภาพ ต่อสังคมเพราะถ้า ขาดความเข้าใจ ความรู้ ความรัก ผลที่จะติดตามมาจะโทษใครไม่ได้เลยเพราะครอบครัวที่อบอุ่น ย่อมทำให้สังคมอบอุ่น ไม่ใช่โตตามมีตามเกิดเรียนรู้ชีวิตเอง พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโตต้องฉีดวัคซีน สร้างภูมิต้านทานให้แก่ลูกที่เรารักต้องสร้างค่าความนิยม ในการเป็นผู้ให้ แทนที่คิดจะเป็นผู้รับซึ่งการเป็นผู้ให้ ย่อมง่ายกว่า การรอรับจากผู้อื่น และการให้ต้องไม่หวังสิ่งตอบแทนด้วยค่ะเรื่องของการไม่รู้จักคิดไม่รู้จักหน้าที่หน้าที่ของบุตรสุดประเสริฐหน้าที่ของพ่อแม่
ครอบครัวของแม่บุญธรรม ซึ่งไม่มีสิทธิ ว่ากล่าวครอบครัวคนของคุณพุ่มพวง (เพราะไม่รู้จริง ฟังเขาเล่าทั้งนั้น)            
            ไม่ว่า พ่อจะทำผิดอย่างไร ลูกก็ไม่มีสิทธิว่าพ่อพ่อเป็นผู้ให้กำเนิด เรื่องของ พ่อและแม่ เป็นเรื่องของคนสองคนความน้อยใจของคนรัก การตัดพ้อต่อว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร เราก็ไม่รู้จริงเป็นลูกต้องกตัญญูรู้คุณ ทำหน้าที่ของตน รักตัวเองต้องรู้จักมองสิ่งที่มีอยู่ ขอบคุณชีวิตที่ได้รับมามีร่างกายสมบูรณ์ ครบ 32 ไม่พิการกายแต่พิการใจ

            การที่เห็นคนอื่นที่เห็นใจเรา ดูแลเรา เมื่อเราเจ็บปวดแล้วย่ำยี บุพการี ไม่มีปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ จะได้เกิดมาหรือไม่
            เมื่อจะบวขทดแทนพระคุณแม่ต้องขออโหสิกรรม จากผู้มีพระคุณก่อนแล้วพระคุณพ่อ ก็ต้องบวชทดแทน เช่นกัน
            ยิ่งครองผ้าเหลือง ก็ต้องสงบนิ่งเมื่อทนไม่ไว้ ต้องเลี่ยงไปที่ๆ สงบไม่ก้าวร้าวว่ากล่าว โยมพ่อ ทำไม่ถูก เป็นบาป อย่างยิ่งปลงอาบัติ ก็ไม่หาย
            พิจารณาง่าย ถ้าทำดี ย่อมสุขใจ และเบิกบานเมื่อไหร่ ทำอะไรลงไป แล้วเศร้าหมอง หมายความว่า ทำไม่ถูก ทำผิด ทำให้ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ และหม่นหมอง
            ใครจะทำถูกทำผิด เป็นเรื่องของกรรมแต่ละคนแต่หน้าที่ของบุตรสุดประเสริฐ ต้องทำให้ได้

            ครอบครัวบญธรรม ทำไม่ถูก ต้องแนะนำสิ่งที่ถูกให้กับลูกที่ไม่เข้าใจพ่อ โกรธพ่อ เข้าใจว่าพ่อไม่รัก ตัวเอง ไม่รักแม่เราไม่รู้จริง ฟังเขาเล่า

            และผู้เสพข่าวทุกคน ก็ไม่รู้จริง กำลังยุ่งกับครอบครัวคนอื่น ๆ ตัดสินใจ พิพากษา โดยไม่รู้ข้อเท็จจริง ไม่เห็นกับตา ใช้ความรู้สึกส่วนตัวตัดสินปัญหาของคนอื่น

พุ่มพวง + ไกรสร + น้องเพชร
            ครอบครัว นี้มีเวลาอยู่ด้วยกัน น้อยมาก เพียง 5 ปี ของอายุน้องเพชร ไม่มีใครรู้อย่างแท้จริงว่าการเลี้ยงดูลูกของ ทั้งคู่ เป็นอย่างไร เวลามีปัญหา ต่างเลือกให้ลูกเป็นพวกหรือเปล่า เด็กในวันแรกเกิดถึง 6 ขวบ เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และพัฒนาการสูง เข้าสามารถซึบซับเรื่องราวต่างๆ ได้ อาจถ่ายทอดได้ไม่เหมือนผู้ใหญ่ เพราะการสื่อสารยังไม่สมบูรณ์ ยังพูดไม่ได้ อธิบายไม่เป็น แต่สามารถเก็บข้อมูลไว้ที่จิตใต้สำนึก ลึกมากเพียงใดขึ้นอยู่กับความสุข หรือความเจ็บปวดของจิตใจ
            เด็กน้อยวัย ในช่วงแรกเกิด ถึง ห้าขวบ เมื่อสูญเสียแม่ไป น้องเพชรอาจ (ขอใช้คำว่า อาจจะ) โหยหาความรัก และความอบอุ่นจากแม่มาก โดยที่สัญชาตญาณ คนเราไม่เท่ากัน
            เมื่อสูญเสียแม่ไปกระทันหัน เห็นภาพและแววตา ของเณรเพชร วัยห้าขวบ สัมผัสได้ว่าเณรมีความเศร้าโศก ถึงการสูญเสียมารดา
            และในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่คุณไกรสร เลี้ยงลูก ได้ทำหน้าที่ของพ่อเพียงใด เราก็มิอาจทราบได้ แต่ผลที่เกิดขึ้นคือลูกไม่มีความสุข จนต้องหนีออกจากบ้าน ในสภาพชอกช้ำ
            ปัญหา ที่มนุษย์เจ็บช้ำใจ ก็คือต้องการความรัก เป็นพื้นฐาน เมื่อไม่ได้ ก็มีปฎิกิริยาแตกต่างกันไป กรณีของน้องเพชร อาจจะแสดงออกในทางปฏิเสธความรัก ทำร้ายตนเอง
            หนีออกจากบ้าน เมื่อไปพบ ผู้หญิง 2 คน (แทนความรู้สึกถึงความอบอุ่นของแม่) คนหนึ่งอยู่ในวัยเดียวกัน มีความเห็นอกเห็นใจ ให้ความสงสาร จนเปลี่ยนเป็นความรัก และผู้หญิงที่อบอุ่นผู้สูงวัยกว่า(เป็นตัวแทนของ แม่ผู้จากไป) น้องเพชร ก็รีบตะครุบ โอกาสนั้น อย่างเหนียวแน่น (สังเกตุจากการให้สัมภาษณ์ ) เราก็ไม่รู้ว่าน้องเพชร ถ่ายทอดข้อมูลอะไรเพื่อให้สองแม่ลูก และคนในครอบครัวบุญธรรมฟัง แต่แน่นอน ในแง่จิตวิทยา คำพูดที่เกิดขึ้นจากมุมมองของน้องเพชร ต้องทำให้เกิดความเห็นใจ และสงสาร ยิ่งออกจากปากลูกชายคนเดียว ของราชินีเพลงลูกทุ่ง ก็ต้องเชื่อมากขึ้น
            เราต้องให้มุมมองกับ ครอบครัวของบ้านบุญธรรม ด้วยว่า เมื่อ น้องเพชร Out Put  ข้อมูล บวกกับประสบการณ์ การเรียนรู้ชีวิต การ Out Put  ก็แสดงออกมาอย่างที่เห้น
            แต่สังคมชาวพุทธ การแสดงกตัญญู กตเวที เป็นเรื่องใหญ่ การที่น้องเพชร ก้าวร้าวต่อ ผู้มีพระคุณ จึงเป็นเรื่องที่ต้องเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะเมื่อครองผ้าเหลืองบวชเป็นพระภิกษุ ก่อนบวชตามประเพณี เมื่อบุพาการียังมีชีวิตอยู่ ผู้พาบวชควรให้พ่อบังเกิดเกล้าที่เลี้ยงดูมา พาไปขอสมัครบวช และต้องขอขมา ขออโหสิกรรม ในทุกสิ่งที่เคยล่วงเกิน เมื่อบวชเรียนก็อุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ (ซึ่งถือกันว่าเป็นเทวดาของลูก) จะถูกผิดอย่างไร ก็ทำให้เราเกิดมา เพื่อได้มีโอกาสทำประโยชน์ให้สังคม เพราะสุดท้ายก็ต้องจากไปเหลือแต่เถ้าถ่านพ่อแม่จะทำผิดอย่างไร ก็เป็นเรื่องของกรรมแต่ละคน ลูกไม่ควรจะเป็นผู้ตัดสินหรือกล่าวว่าใดๆ
            ผู้ปรารถนาดีก็ต้องตักเตือน และแนะนำให้ทำหน้าที่ของบุตรสุดประเสริฐ ซึ่งเกี่ยวโยงไปยัง ครอบครัว พี่น้อง และ พ่อแม่ ของคุณพ่มพวง ดวงจันทร์ และ ครอบครัว คุณน้ำอ้อย (ธิดารัตน์ อรรถรัตน์ และ คุณสุพรรณี สุประการ แม่บุญธรรม)
            4. ผู้บริโภคข่าว ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ก็ยังไม่ควรด่วนสรุป ใครผิดใครถูก ควรจะให้ความเห็นใจทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง
            ปัญหาที่แท้จริง คือความรัก ความเข้าใจ ตลอดจน การเรียกร้องเป็นผู้รับ ลองเปลี่ยนความคิดเป็นผู้ให้กันบ้าง
            ทางออกกรณีที่น้องเพชร อยากสร้างรูปปั้นของแม่แทนความคิดถึงที่ขาดไป และเห็นรูปปั้นที่คนอื่นๆ สร้างกัน ก็ไม่เหมือนความรู้สึกของตน ก็น่าจะช่วยกันสนับสนุน และก็สร้างและเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขึ้ผื้งก็ได้ ถ้าไม่อยากให้คนกราบไหว้ขอหวย  ครอบครัวควรสนับสนุนนะคะ
            สำหรับที่คุณไกรสร ออกมาพูดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เกิดจากการเลี้ยงดูลูกของตนด้วย และความเจ้าชู้ของผู้ชายในสังคมไทยเรา ก่อให้เกิดปัญหาในสังคมอย่างไร ? ก็ควรเป็นอุทาหรณ์ด้วยเพื่อสังคมที่แข็งแรง


ข่าวที่2

คำต่อคำ "เป๊ก-ธัญญ่า" ไม่ทิ้งฉายา"เมียหลวงลวงสังหาร"เชือดนิ่มๆ ต่อหน้ากองทัพนักข่าว





เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 18 พ.ค. ธัญญ่า - ธัญญาเรศ เองตระกูล ดารานักแสดงชื่อดัง เจ้าของฉายา"เมียหลวงลวงสังหาร"จากสมาคมนักข่าวบันเทิง พร้อมด้วย เป๊ก - สัญชัย เองตระกูล อดีตสามี  ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงความสัมพันธ์ในชีวิตคู่สมรสที่ระหองระแหงกันมาเป็นเวลานาน ขณะที่มีนางเอกสาวชื่อดังเป็นบุคคลที่สามโดยอดีตคู่รักได้แถลงข่าวดังนี้ 

เป๊ก - แต่งงานใหม่หรือเปล่า เหมือนแต่งงานใหม่เลย 

ธัญญ่า - ที่ผ่านมาเป็นข่าวค่อนข้างเยอะ ธัญญ่าอยู่ที่นู่นก็ได้ยินข่าว มีจริงบ้างไม่จริงบ้าง วันนี้เราสองคนพร้อมที่จะออกมาพูด ว่าเรื่องราวเราเป็นอย่างไร 

เป๊ก - ขอทิชชู่

ธัญญ่า - เหงื่อแตกเลย 

เป๊ก - ผมว่าที่ผ่านมาทั้งหมด เราได้ทำดีที่สุดแล้ว วันนี้ยังไงล่ะ ธัญญ่าพูดไม่ถูกเลย

ธัญญ่า - ท่องไว้ยังไง

เป๊ก - ไม่ได้ท่อง เราทำที่ดีที่สุดแล้ว ที่ผ่านมาเนี่ย สิ่งที่ตีแผ่ออกไปในสังคม บางสิ่งเป็นเรื่องที่จริง บางสิ่งก็ไม่จริง ตัวผมเองไม่สามารถไปบอกทุกคนเป็นขั้นตอนว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร มาถึงวันนี้ สิ่งที่ตีแผ่ออกไปสะท้อนถึงตัวผมเอง คุณพ่อคุณแม่ทุกฝ่าย ถึงวันนี้ตัวผมก็ยอมทุกอย่างแล้ว เพื่อลียา เราอยากจะให้ลียากลับมา 

เมื่อนักข่าวถามว่ายอมทุกอย่างคืออย่างไร 

ธัญญ่า - ก็ตอบสิ

เป๊ก - ก็คือ.. ธัญญ่าต้องช่วยบอกแล้ว

ธัญญ่า - คือตอนนี้ บางคนอาจสงสัย เรื่องฟ้องร้องจริงหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องจริง ต้องบอกก่อนว่าตั้งแต่แรกที่เกิดปัญหา เราพยายามทำให้ปัญหามันโอเคที่สุด แต่ในเมื่อมาถึงจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่าเราพอดีกว่า แต่ไม่ยอมหย่า

เป๊ก - ไม่ใช่ไม่ยอมหย่า ผมคิดเรื่องลูกเป็นหลัก เขาไม่ได้รู้เรื่องอะไร เราทำได้ดีที่สุดแล้วล่ะ

ธัญญ่า - ที่เราพูดดีกันมาตลอดก็มีทั้งพูดดีกัน และทะเลาะกัน เป็นธรรมดาของสามีภรรยาที่เถียงกันบ้าง จนถึงขั้นที่เราอยากยุติ อยากจะจบ แต่เมื่อเราถูกปฏิเสธ เราก็ต้องเอากฎหมายมาช่วย อย่างเวลาเด็กทะเลาะกันพ่อแม่มาเคลียร์ แต่เราโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราต้องพึ่งทางกฎหมาย การฟ้องร้องเกิดขึ้นเป็นเรื่องราวใหญ่โต แต่ ณ วันนี้เราเคลียร์กันเองได้ เราเคลียร์กันแล้วว่าจะทำอย่างไรต่อไป 

เมื่อนักข่าวถามว่า เคลียร์กันอย่างไร

ธัญญ่า - ทำสัญญายอมความกันที่ศาล ตามข้อตกลงต่างหาก ตามที่เราคุยกัน ยกเลิกการฟ้องและยุติการเป็นสามีภรรยา ส่วนเรื่องหย่า เดี๋ยวค่อยนัดกันอีกทีหนึ่ง

เป๊ก - ต้องตามเขา แต่ก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไรต่อไป เมื่อตอนนี้มันเป็นแบบนี้ ต่อจากนี้ธัญญ่าจะไปรับลูกกลับมา ธัญญ่ากลับพรุ่งนี้และจะกลับมาอีกทีสิ้นเดือน หลังจากนั้นต้องดูกันต่อไปว่าเป็นอย่างไร

ธัญญ่า - กะว่าจะรับลียามาเยี่ยมคุณปู่คุณย่า ก็คงอยู่สักสามอาทิตย์ก่อน สักพักคงกลับมาอยู่ถาวร เพราะเราตกลงกันแล้วจะให้ลียาเรียนที่เมืองไทย 

เป๊ก - ตราบใดที่ยังไม่ได้เซ็นใบหย่า ผมก็ถือว่าไม่ได้หย่า เป็นเวลาที่จะดึงลูกกลับมา และทำให้ดีที่สุดก่อนแล้วกัน จะเอาอย่างไรค่อยว่ากัน

เมื่อถามว่า ธัญญ่าหย่าแบบมีเงื่อนไขหรือเปล่า

ธัญญ่า - จากข่าวที่ออกมาว่าฟ้องร้องเป็นเงินร้อยล้าน จริงๆเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่จริงๆแล้ว ที่เราคุยกันตามข้อตกลง เราก็จะมีเรื่องของการดูแลลูก ลูกอยู่กับใครวันไหน มีค่าดูแลเท่านั้นเอง ส่วนเรื่องร้อยล้านไม่มีค่ะ แต่ถ้าให้ก็เอา ปีหนึ่งแล้วที่เราตัดสินใจ มันก็มาถึงจุดนี้แล้ว

เป๊ก - เรื่องที่เป็นแบบนี้เพราะสื่อหรือคนรอบข้างมีผลมาก กับการที่เป็นแบบนี้ คือจากนี้ไป อยากให้แบบต้องวิเคราะห์หน่อยว่าบางเรื่องจริง บางเรื่องไม่จริง คนไม่โดนคงไม่รู้ บางเรื่องผมก็พูดได้ว่าเป็นความจริง บางเรื่องก็ไม่ได้เป็นความจริงเลย จนทำให้เราทะเลาะเดี๋ยวดีเป็นเวลา 2 ปีแล้ว

ธัญญ่า - 2ปีเลยหรือ 

เป๊ก - เกือบ 2 ปี ปีกว่าแล้ว ถ้าเกิดว่ากระแสแรงขนาดนี้ ป่านนี้เรื่องนี้คงจบไปนานแล้ว ถ้าถามผมเราต้องคิดถึงเรื่องลูกก่อนถ้าไม่คิดถึงเรื่องส่วนตัว เราก็ไม่อยากหย่าให้ลูกได้เห็นตัวอย่าง ลูกที่มีพ่อแม่หย่ากันคงไม่ดีสำหรับเด็ก ระยะยาวคงไม่ดีสำหรับเด็กเยอะ

เมื่อถามว่าความรักคืออะไร

เป๊ก - ความรักไม่ต้องพูด อยู่กันมาตั้ง 6-7 ปี ความรักเราไม่ต้องพูดอยู่แล้วล่ะ

ธัญญ่า - ถ้าเราไม่รักกัน เราคงไม่แต่งงานและมีลูกกันมาขนาดนี้ แต่ปัญหาที่เราเจอ อยากให้เคลียร์ให้มันจบ ปัญหาหนักหนาเลยรู้สึกว่าเรามาเป็นเพื่อนกันดีกว่า เป็นพ่อและแม่ที่ดีของลียาดีกว่า ไม่ต้องเป็นสามีภรรยาก็ดูแลลูกให้โตมาอย่างอบอุ่นได้
จริงๆ คุยกันตลอด ว่าทำไมเราถึงอยากยุติ ซึ่งอันนี้ พี่เป๊กก็รู้ดีว่าเพราะอะไร 

เป๊ก - 
วันนี้ผมพูดถึงเรื่องครอบครัว เรื่องส่วนตัว ไม่อยากตอบเรื่องอื่น อย่าเฉไฉ เท่าที่บอกเราได้พยายามกันเต็มที่แล้ว ผมก็ทำทุกอย่างแล้ว และต้องขอบคุณธัญญ่าที่เข้าใจและพาลียากลับมาในเร็ววันนี้ ทุกคนรอให้ลียากลับมา เป็นหลานสาวคนเดียวในตระกูลของผมที่เป็นผู้หญิง ทุกคนรักมาก และไม่ได้เจอลียามาตั้ง 9 เดือนแล้ว รอคอยวันที่ลียาจะกลับมา

เป๊ก - ครอบครัวผม และทุกคนรอบข้าง พยายามทำให้ดี อย่างที่พูดไป สิ่งที่ออกไปสู่ประชาชนทำให้ผลย้อนกระทบตัวผม ก็ไม่อยากโทษอะไร ต้องยอมรับโดยดีว่าความจริงเป็นอย่างไร ณ วันนี้เป็นอย่างไร

ธัญญ่า - มีผลไหม เอาเป็นว่าในเรื่องที่กระทบธัญญ่ามากที่สุดคือความจริงที่เกิดขึ้นในครอบครัว อาจมีผลบ้าง อาจมีข่าวออกมาแต่ข่าวนั้นมันไม่จริง แต่เราเชื่อว่ามันจริง มันก็ทำให้มีผลต่อความรู้สึก 
แต่หลักๆ เลย สิ่งที่มันทำให้เรารู้สึกมากๆ คือ สิ่งที่รับรู้โดยตรง สื่อก็มีส่วนแต่อาจไม่ได้เยอะมาก 

เป๊ก - ลองคิดถึงครอบครัวของตัวเองว่า ครอบครัวใครโดนสื่อให้ความสนใจมากๆ ขนาดนี้ มีผลต่อการตัดสินใจ การพูดอะไรหลายอย่าง ขนาดไหน ถ้าเราเป็นคนธรรมดา เคลียร์ได้ปกติ เรื่องคงจบไปนานแล้ว ไม่เป็นแบบนี้ ผมไม่ได้โทษใคร แต่เป็นเราบ้างความรู้สึกจะเป็นอย่างไร เราได้ทำทุกอย่างถึงที่สุดแล้ว 

เป๊ก - ผมไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป รอวันลูกกลับมา และรอให้ถึงวันนั้นก่อน แล้วจะให้ลูกเรียนที่ไหน ไปคิดเรื่องนั้นดีกว่า เรื่องรายละเอียดว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป ตัวผมแพลนแล้วจะพาไปไหนมาไหนบ้าง แต่ธัญญ่าก็บอกเขามีงานกับลูก ก็ยังคุยกันอยู่เลย

เมื่อถามถึงคดีที่ธัญญาฟ้อง

ธัญญ่า - ก็ฟ้องจริง ธัญญ่าได้ปรึกษาทนายแล้ว เมื่อฟ้องทั้งทีก็ต้องสมบูรณ์ในการเรียกร้องศักดิ์ศรี ณ วันนี้พอเราสองคนเคลียร์กัน เราก็เลยโอเค ถอนฟ้องทั้งหมด หรือไม่ถอนดีพี่ ให้ถอนไหม 

เมื่อถามว่าอีกคดี ที่ฟ้อง "บุคคลที่สาม"

ธัญญ่า - ถอนไปแล้ว ให้ถอนไหม

เป๊ก - เฮ้ย

ธัญญ่า - ถ้าพี่ให้ถอน ธัญญ่าก็ถอน ให้ถอนไหม

เป๊ก - อ้าว ตาย เท่าที่ผมทราบมาคือถอนหมดแล้ว 

ธัญญ่า - ใครบอกว่าถอน

เป๊ก - ทนายพี่โทรมาเมื่อกี้ 

ธัญญ่า - ทนายใคร (หัวเราะ) ก็ถอนค่ะถอน อันนี้แกล้งเขาเฉยๆ รู้สึกว่าให้มันจบๆ กันไป ไม่อยากมานั่งแค้นใจกัน มานั่งเคืองโกรธ ให้มันจบๆ ไป 

เป๊ก - เจอกันคราวหน้า มาเก็บภาพลียาดีกว่า ลียาน่ารัก 

ธัญญ่า - เปลี่ยนเรื่องเลย ตัวธัญญ่าก็ปรึกษาทนายด้วย ก็ให้มันจบ

เป๊ก - อย่างที่ผมบอก อารมณ์ธัญญ่าขึ้นลงๆ คือธัญญ่าอยู่ไกล ได้อ่านข่าว ได้ฟังแต่สื่อ

ธัญญ่า - เรื่องจริงก็เจอ

เป๊ก - ทำให้เขาขึ้นลงๆ ขึ้นแรงเลยฟ้องเลย 

ธัญญ่า - ขึ้นแรงเพราะอะไร ต้องถามพี่เป๊ก 

เป๊ก - ไม่มีครับ ไม่มีอะไร 

เมื่อถามว่าได้คุยกับบุคคลที่สามหรือไม่

ธัญญ่า - ไม่คุยแล้วค่ะ เพราะว่าเป็นเรื่องของธัญญ่ากับพี่เป๊ก เพราะตัวเราตัดสินใจจะหย่ากันแล้ว และยุติความเป็นสามีภรรยา ตรงนั้นก็ควรปล่อยไปด้วย ไม่อยากมีเรื่องแค้นเคืองกัน สู้กันไปสู้กันมา กว่าจะจบ อีกกี่ปีก็ไม่รู้ 

เป๊ก - ตอนนี้อยากเอาลูกกลับมา เรียนโรงเรียนไหนจัดการให้เสร็จก่อน 

ธัญญ่า - แบ่งวัน(อยู่กับลูกสาว) กันแล้ว ช่วงที่กลับมา 3 เดือน คงให้อยู่กับพี่เป๊กส่วนใหญ่ เพราะรู้ว่าคิดถึง 

ก่อนปิดท้ายว่า ธัญญ่ายืนยันจะหวนกลับมาสู่วงการบันเทิงเหมือนเดิม ..

หนังสั้นเรื่อง : ตกข่าว






                   จากที่กลุ่มของข้าพเจ้านั้นได้นำเสนอเรื่องปัญหาครอบครัวที่เป็นปัญหาหนึ่งในสังคม ในช่วงท้ายสุดของการนำเสนอหน้าชั้นเรียนแล้วข้าพเจ้าได้รวบรวมเอาความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาครอบครัวของเพื่อนในชั้นเรียนได้ดังต่อไปนี้

  •   เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัวที่บางปัญหาเกิดขึ้นกับลักษณะความเป็นตัวบุคคล เช่นปัญหาเมื่อพ่อเป็นเกย์ ทุกคนสมาชิกในครอบครัวควรที่จะยอมรับกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นให้ได้เสียก่อน
  • การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเลยสำหรับปัญหาครอบครัวอันดับแรกเลยคือการหันหน้าเข้ามาคุยกันในครอบครัว  
  • ความเข้าใจกันของ พ่อ และแม่ และลูกถือเป็นภูมิต้านทานชั้นดีเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในครอบครัว
  • การทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดในเหล่าสมาชิกครอบครัว ไม่ว่าจะเกิดปัญหาใดๆก็ตามในครอบครัว เมื่อทุกคนไม่บกพร่องในหน้าที่ของตนสภาพความเป็นครอบครัวก็ยังดำรงอยู่
  • การทำกิจกรรมร่วมกันถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาในครอบครัวได้อีกวิธีหนึ่งถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด แต่มันเป็นการเบี่ยงเบนกับปัญหาที่มีอยู่เพื่อไปทำกิจกรรมให้มีสุขสร้างความอบอุ่นในครอบครัวดีกว่าจมปักไปกับปัญหา
  • บางทีเมื่อเกิดปัญหาในครอบการแยกทางกัน ก็ถือเป็นทางออกที่ลงตัวที่สุดแล้วสำหรับทุกฝ่าย ในเมื่อเราไม่สามารถขจัดปัญหาในครอบครัวที่เกิดขึ้นได้หรือไม่สามรถทำให้มันทุเลาลงมาได้ การยื้อสถานภาพต่อไปมันคงไม่ดีสำหรับทุกฝ่าย  การแยกทางคงเป็นคำตอบสุดท้ายที่ดีที่สุดสำหรับ สามีและภรรยา ในความเป็นสมาชิกครอบครัว
  • ความห่างเหินของสมาชิกในครอบครัว  เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหาครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ พ่อกับแม่ห่างเหินกัน หรือพ่อและแม่ห่างเหินกับลูกไม่ดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร ล้วนแล้วย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาครอบครัวได้ทั้งสิ้น ดังนั้น ความใกล็ชิดกันในสมาชิกครอบครัวถือเป็นการแกปัญหาได้ดีที่สุดเมื่อมีปัญหาครอบครัว
  • บุคคลที่ถือเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด และเป็นผู้ที่ควรได้รับความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษนั้นคือ "ลูก" พ่อแม่ควรคำนึงถึงความสำคัญของลูกมากที่สุด ความึิดเห็นนี้อาจารย์ได้ให้กรณีสนันสนุนมาหนึ่งกรณี คือ อาจารย์ได้เล่าถึงเพื่อนคนหนึ่งของอาจารย์ว่า เพื่อนคนนี้ประสบกับปัญหาครอบครัวและได้แยกทางกับทางฝ่ายสามี หลังจากการแยกทางกันเพื่อนอาจารย์คนนี้เป็นฝ่ายดูแลลูก เมื่อมีโอกาสที่จะมีคู่ครองคนใหม่นั้น เพื่อนอาจารย์คนนี้ได้มีคติไว้อยู่ว่าจะต้องเป็นคนที่เข้ากับลูกให้ได้มากที่สุด ถ้าไม่สามารถเข้ากับลูกได้แล้ว ก็จะไม่ตกลงปลงใจที่จะมีสามีอีกครั้ง เห็นได้ว่าการให้ความสำคัญสูงสุดสำหรับชีวิตครอบครัวของเพื่อนอาจาร์ยคนนี้คือ "ลูก"
  • เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัวโดยเฉพาะปัญหาการทะเลาะวิวาทของพ่อ และแม่ จนทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันนั้น ให้ยึดคติไว้อย่างหนึ่งว่า "ครั้งหนึ่งเราเคยรักกัน" น่าจะช่วยให้ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันนั้นลดลงและหันมาช่วยกันแกปัญหากันได้
  • การเปิดอกคุยกัน ของคนในครอบครัวก็ถือเป็นทางแกปัญหาครอบครัวอีกวิถีทางหนึ่ง เพราะการพูดความจริง เมื่อเกิดปัญหามันจะช่วยให้เรารับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงขึ้นและเมื่อเรารู้ถึงความแท้จริงของปัญหาจะได้ช่วยกันแกปัญหาอย่างตรงจุด ดีกว่าการโกหกกันเพราะจะทำให้ปัญหานั้นสะสมและไม่ได้รับการแก้ไข
  • ในฐานะมุมมองของลูกหากเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว ความเป็นลูกนั้นอาจจะไม่สามารถแก้ปญหาของผู้ใหญ่ได้มาก แต่อย่างนั้นก็จะเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สร้างปัญหาครอบครัวนั้นไปมากกว่าเดิม               



จัดทำโดย

นางสาววรธมน อามาตย์คง     51041033
นางสาวปรัชญาภรณ์ โปทา    51041088  
นางสาวนัฐกานต์ แมนไธสง   51041057
นางสาวสุรีย์พร ลบหนองบัว   51041125
นางสาวธรรมชาติ กำจรฤทธิ์  51041798
นางสาวสุนันทนา หมั่นพลศรี 51044720
นายประวีณ แก้วประเสริฐ       51048124

นิสิตคณะศึกษาศาสตร์  สาขาการสอนสังคมศึกษาศษสนาและวัฒนธรรม ชั้นปีที่ 4

1 ความคิดเห็น:

  1. อย่าลืมใส่ความคิดเห็นของเพื่อนเกี่ยวกับวิธีการทำให้ครอบครัวมีสุขด้วยค่ะ

    ตอบลบ